Search
Login
×
Search
Menu
เกี่ยวกับเรา
แนะนำหน่วยงาน
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร
โครงสร้างองค์กร
ผู้บริหาร
บุคลากร
หน่วยงานภายใน
งานยุทธศาสตร์และสารสนเทศทรัพยากรบุคคล
งานพัฒนาทรัพยากรบุคคล
งานบริหารทรัพยากรบุคคล
งานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ติดต่อ
การติดต่อ
เอกสารเผยแพร่
ข้อมูลสาธารณะ
แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
การขับเคลื่อนจริยธรรม
เอกสารดาวน์โหลด
แผนแม่บททรัพยากรบุคคลฯ ระยะ 5 ปี (66 - 70)
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
การมอบอำนาจให้ผู้ปฏิบัติการแทนอธิการบดี
แบบฟอร์ม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน
คู่มือ
คู่มือการปฏิบัติงาน
คู่มือผู้รับบริการ
คู่มือการประเมินสมรรถนะในการปฏิบัติงาน '65
แนวปฏิบัติสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน '65
ข่าวประชาสัมพันธ์
ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศภายใน
Employee Self Services (ESS)
Room reservation system
SWU E - meeting
SWU E - document
ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล
HURIS
ร่วมงานกับ มศว
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
หน้าแรก /
ข้อมูลสาธารณะ / การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างมหาวิทยาลัย
คณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างมหาวิทยาลัย เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลฯ ให้ได้คนเก่งคนดีเข้ามาปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างมหาวิทยาลัย และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ 4 วิธีการ ได้แก่ การสอบแข่งขัน การสอบคัดเลือก การคัดเลือก และการเสาะหาและเจรจา เมื่อดำเนินการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยจะดำเนินการบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างมหาวิทยาลัย
การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตามนโยบายการบริหารงานบุคคลและแผนการพัฒนาบุคลากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ มีสมรรถะสูง และมีความเป็นมืออาชีพ ดังนี้
1. การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรไปพัฒนาทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ การเดินทางไปพัฒนา (ประชุม/สัมมนา/ดูงาน/เสนอผลงานทางวิชาการ) การไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ การไปศึกษา ฝึกอบรม แพทย์ประจำบ้าน ปฏิบัติการวิจัยหรือปฏิบัติงานอื่น ทุนพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทุนโครงการ นออ. มศว ทุนความร่วมมือทางวิชาการ ทุนหน่วยงานภายนอก
2. การจัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศึกยภาพบุคลากร ได้แก่ ผู้บริหาร สายวิชาการ และสายปฏิบัติการ
3. การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีก้าวหน้าในสายอาชีพ ได้แก่ การขอตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ. รศ. ศ.) การเลื่อนระดับตำแหน่งสูงขึ้นของอาจารย์สาธิตและนักวิจัย การเลื่อนระดับตำแหน่งสูงขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการและข้าราชการสายสนับสนุนวิชาการ
การวางแผนกำลังคน
มหาวิทยาลัย มีการจัดทำแผนอัตรากำลังโดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงสร้างของหน่วยงาน พันธกิจ ภารกิจ ความรับผิดชอบของหน่วยงาน จำนวนบุคลากร ภาระหน้าที่ของหน่วยงาน และเสนอคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อนุมัติหลักการบริหารอัตรากำลัง ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตามที่กำหนด โดยบริหารจัดการอัตราว่างและทบทวนอัตรากำลังที่มีให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล แผนอุดมศึกษา แนวโน้ม จำนวนนิสิต โครงสร้างตลาดแรงงาน ภาวะการมีงานทำ การตกงานของบัณฑิต และคุณภาพในการจัดการศึกษา เป็นสำคัญ รวมทั้งบริหารอัตรากำลังในภาพรวมให้สอดคล้องกับความจำเป็นในการปฏิบัติภารกิจ คำนึงถึงประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของภารกิจของส่วนงานและมหาวิทยาลัย โดยได้ประชุมร่วมกับส่วนงานแต่ละส่วนงานและได้ข้อสรุป เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารงานบุคคล พิจารณากรอบอัตรากำลัง นอกจากนี้ มหาวิทยาลัย มีการติดตามเรื่องจำนวนบุคลากรเป็นประจำ โดยพัฒนาปรับปรุงฐานข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งจัดทำรายงานจำนวนบุคลากรทุกเดือน โดยจำแนกเป็นสายวิชาการ และสายปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์ และแสดงให้เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจำนวนบุคลากร และเมื่อจำเป็นต้องใช้ข้อมูลบุคลากร ก็สามารถดึงเฉพาะข้อมูลในส่วนที่ต้องการใช้ได้ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร
มหาวิทยาลัยมีการกำหนด ระบบและหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานตามประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และประกาศให้บุคลากรรับทราบโดยทั่วกัน แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน สามารถดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ให้เป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกันทั้งมหาวิทยาลัยและรูปแบบ รวมทั้งวิธีการประเมินผลที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนงาน สะท้อนผลการทำงาน ที่แท้จริงของบุคลากรรายบุคคล ทำให้เกิดความยุติธรรมในการประเมินผลการทำงาน และสร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้กับบุคลากรอีกด้วย ผลการประเมินผลการปฏิบัติงานสามารถนำใช้ในการประกอบการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องต่างๆ เช่น การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การพัฒนาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน การต่อเวลาราชการ การให้รางวัลประจำปี รางวัลจูงใจและค่าตอบแทนต่างๆ ซึ่งการประเมินผลการปฏิบัติงาน ดำเนินการประเมินปีละ 2 รอบการประเมิน รอบละ 6 เดือน ดังนี้
1. รอบที่ 1 ประเมินผลการปฏิบัติราชการ ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 31 มกราคมของปีถัดไป
2. รอบที่ 2 ประเมินผลการปฏิบัติราชการ ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 กรกฎาคม
และกำหนดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองผลการประเมินผลในระดับมหาวิทยาลัยเพื่อกลั่นกรองผลการพิจารณาของส่วนงาน 33 หน่วยงาน
การให้คุณให้โทษและการสร้างขวัญกำลังใจ
ในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรมหาวิทยาลัยได้จัดทำประกันสุขภาพกลุ่ม และประกันอุบัติเหตุกลุ่ม ให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยเพื่อลดค่าใช้จ่ายของบุคลากรในการรักษาพยาบาล อีกทั้งมีเงินสินไหมทดแทนให้กับทายาทบุคลากรที่เสียชีวิต มีโครงการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้บุคลากรมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง มีการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้พนักงานมหาวิทยาลัยสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้มีเงินสะสมใช้หลังออกจากงาน
การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan)
ตามกรอบแผนแม่บททรัพยากรบุคคลฯ ของมหาวิทยาลัย ผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน
รหัส
ตัวชี้วัด
ค่าเป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน
KS1
ร้อยละของบุคลากรที่มีผลประเมินสมรรถนะหลักมหาวิทยาลัย (SWU) เป็นไปตามความคาดหวัง
90
อยู่ระหว่างการจัดเก็บรายงานผลจาก ผลการประเมินการปฏิบัติรอบที่ 1
KS2
จำนวนครั้งการรายงานการเกิดอุบัติเหตุจากสภาพแวดล้อมของพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยของบุคลากรในสังกัด (บาดเจ็บสาหัส/ทุพลภาพ/เสียชีวิต)
0
อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล
KS3
ร้อยละของบุคลากรของส่วนงานเข้าร่วมซ้อมแผนป้องกันระงบอัคคีภัยและอพยพหนีไฟ
90
อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล
KS4
ร้อยละของความครบถ้วนสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูลในระบบ HURIS
100
94.98
KS5
จำนวนการรายงานความผิดพลาดของข้อมูลในระบบที่ตรวจพบเมื่อเรียกใช้งานข้อมูล
0
อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล
KS6
ร้อยละของบุคลากรในส่วนงานที่มีสมรรถนะตามสายงาน(บังคับ) ทั้ง 3 สมรรถนะเป็นไปตามความคาดหวัง
90
อยู่ระหว่างการจัดเก็บรายงานผลจาก ผลการประเมินการปฏิบัติรอบที่ 1
KS7
ร้อยละความสำเร็จในการบรรจุจ้างบุคลากรที่มีคุณสมบัติครบถ้วนจากกระบวนการสรรหาด้วยวิธีต่าง ๆ
70
อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล
KS8
ร้อยละของบุคลากรใหม่ในช่วงสัญญาทดลองงานที่ผ่านการประเมิน
90
อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล
KS9
ร้อยละของบุคลากรที่มีผลการประเมินระดับดีเด่นขึ้นไป (มากกว่า 90 คะแนน) ของผลประเมินปีก่อนหน้ายังคงอยู่ในองค์กร
85
อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล
KS10
ร้อยละการคงอยู่ของคณาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
85
อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล
KS11
ร้อยละความสำเร็จของตัวชี้วัดตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
90
อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล
KS12
จำนวนข้อร้องเรียนในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว
0
0
KS13
ร้อยละของบุคลากรที่อยู่ในตำแหน่งที่มีแผนพัฒนารายบุคคล ดำเนินการตามแผน
Pending
-
KS14
ร้อยละของบุคลากรสายวิชาการที่มีความพร้อมตามกรอบระยะเวลาเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ/ระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น
25
อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล
KS15
ร้อยละของบุคลากรสายปฏิบัติการที่มีความพร้อมตามกรอบระยะเวลา เข้าสู่ระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น
25
อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล
KS16
คะแนนระดับความผูกพันของบุคลากรภายในส่วนงานเฉลี่ย
4.0
อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อคำถาม
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการจัดโครงการ / กิจกรรมการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประประมาณ 2566 (รอบ 6 เดือน)
ส่วนทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
114 สุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ
เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
02 649 5000 I hrswu@g.swu.ac.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Terms Of Use
Privacy Statement
Copyright 2024 by Srinakharinwirot University
Back To Top