Search
Login
×
Search
Menu
เกี่ยวกับเรา
แนะนำหน่วยงาน
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร
โครงสร้างองค์กร
ผู้บริหาร
บุคลากร
หน่วยงานภายใน
งานยุทธศาสตร์และสารสนเทศทรัพยากรบุคคล
งานพัฒนาทรัพยากรบุคคล
งานบริหารทรัพยากรบุคคล
งานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ติดต่อ
การติดต่อ
เอกสารเผยแพร่
ข้อมูลสาธารณะ
แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
การขับเคลื่อนจริยธรรม
เอกสารดาวน์โหลด
แผนแม่บททรัพยากรบุคคลฯ ระยะ 5 ปี (66 - 70)
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
การมอบอำนาจให้ผู้ปฏิบัติการแทนอธิการบดี
แบบฟอร์ม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน
คู่มือ
คู่มือการปฏิบัติงาน
คู่มือผู้รับบริการ
คู่มือการประเมินสมรรถนะในการปฏิบัติงาน '65
แนวปฏิบัติสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน '65
ข่าวประชาสัมพันธ์
ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศภายใน
Employee Self Services (ESS)
Room reservation system
SWU E - meeting
SWU E - document
ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล
HURIS
ร่วมงานกับ มศว
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
หน้าแรก /
ข้อมูลสาธารณะ / นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2559 ได้ระบุถึงหน้าที่และนโยบายการทำงานของมาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดังนี้ มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง มีวัตถุประสงค์ในการสร้างองค์ความรู้ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดปัญญา เพื่อพัฒนาสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติและดุลยภาพ มีพันธกิจต่อสังคมในการจัดการศึกษา ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการ และทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงการสืบสาน และเสริมสร้างภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ด้วยวิทยาการความรู้ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี โดยการดำเนินการต้องคำนึงถึง
1. ความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา
2. ความมีเสรีภาพทางวิชาการและความเป็นเลิศทางวิชาการควบคู่ไปกับคุณธรรมและจริยธรรม
3. การเป็นชุมชนทางวิชาการและการใช้องค์ความรู้เพื่อชี้นำสังคม
4. การมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบต่อรัฐและสังคม
5. ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความโปร่งใส ความถูกต้อง ความยุติธรรม ความน่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้
6. การมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย
การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อยู่ภายใต้การควบคุมดูแล ของสภามหาวิทยาลัย ดังรูปที่ 1 และความสัมพันธ์ระหว่างสภามหาวิทยาลัยกับผู้บริหารและความสัมพันธ์ภายนอกแสดง ดังรูปภาพที่ 2 และรูปภาพที่ 3
รูปภาพที่ 1 โครงสร้างการดำเนินงาน ของสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รูปภาพที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่าง สภามหาวิทยาลัยกับผู้บริหาร
รูปภาพที่ 3 ความสัมพันธ์ภายนอก
สภามหาวิทยาลัยได้ออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2559 เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย ในข้อบังคับกำหนดให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการคณะกรรมการบริหารงานบุคคล และให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ดังนี้
1. การวางแผนกำลังคน การกำหนดตำแหน่ง การกำหนดเงินเดือนค่าตอบแทน การจ้างการวางแผนพัฒนาบุคลากร การวางมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง การรักษาจรรยาบรรณ การรักษาวินัย การอุทธรณ์ร้องทุกข์ การประเมินผลการปฏิบัติงานและอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
2. ออกประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามข้อบังคับกำหนด
3. รับรองวุฒิของผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือหนังสือรับรองคุณวุฒิอื่นๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการบรรจุแต่งตั้ง และกำหนดอัตราเงินเดือนที่ได้รับ
4. เสนอนโยบายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลต่อสภามหาวิทยาลัย
5. ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานต่อสภามหาวิทยาลัย
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลืองานตามที่คณะกรรมการคณะกรรมการบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมอบหมาย
7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้หรือที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
ทรัพยากรบุคคล ถือเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนองค์กร จัดเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จและเป็นทรัพยากรอันมีค่าของมหาวิทยาลัย ประกอบกับเป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงบริบททั้งภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานภาพจากการเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ การดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2565 - 2580) และวิสัยทัศน์การดำเนินงานใหม่ของมหาวิทยาลัยที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมถึงการเปลี่ยนแปลงจากบริบทของสภาพแวดล้อมภายนอก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงฉับพลันด้านเทคโนโลยี (digital disruption) ส่งผลให้มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมีการปรับตัวอย่างมากในด้านการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยให้บรรลุตามยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
แผนแม่บททรัพยากรบุคคล จึงเปรียบเสมือนแนวทางและเข็มมุงของการจัดการด้านทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยให้มีความชัดเจน นำไปสู่การปฏิบัติและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อองค์กร โดยหวังเป็นอย่างยิ่งให้
"คน มศว มีขีดความสามารถและผูกพัน ทุ่มเทเพื่อความสำเร็จของ มศว"
มหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบายและทิศทางในการบริหารบุคคล โดยมีแผนแม่บททรัพยากรบุคคล ระยะ 5 ปี พุทธศักราช 2566 – 2570 เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้มีความเชื่อมโยงสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
เพื่อให้การดำเนินการตามแผนแม่บททรัพยากรบุคคล เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการดำเนินการ มหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 ตามกรอบแผนแม่บททรัพยากรบุคคลฯ โดยมีแนวทาง/โครงการและกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยจะดำเนินการ ไว้เป็นแนวทางให้ส่วนงานเข้าร่วม หรือผลักดันให้เกิดการดำเนินการร่วมกัน (
Action Plan 2566
) โดยมีตัวชี้วัดที่ส่วนงานต้องมีส่วนร่วมในการผลักดันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ในปีงบประมาณ 2566 ดังนี้
รหัส
ตัวชี้วัด
ค่าเป้าหมาย
KS1
ร้อยละของบุคลากรที่มีผลประเมินสมรรถนะหลักมหาวิทยาลัย (SWU) เป็นไปตามความคาดหวัง
90
KS2
จำนวนครั้งการรายงานการเกิดอุบัติเหตุจากสภาพแวดล้อมของพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยของบุคลากรในสังกัด (บาดเจ็บสาหัส/ทุพลภาพ/เสียชีวิต)
0
KS3
ร้อยละของบุคลากรของส่วนงานเข้าร่วมซ้อมแผนป้องกันระงบอัคคีภัยและอพยพหนีไฟ
90
KS4
ร้อยละของความครบถ้วนสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูลในระบบ HURIS
100
KS5
จำนวนการรายงานความผิดพลาดของข้อมูลในระบบที่ตรวจพบเมื่อเรียกใช้งานข้อมูล
0
KS6
ร้อยละของบุคลากรในส่วนงานที่มีสมรรถนะตามสายงาน(บังคับ) ทั้ง 3 สมรรถนะเป็นไปตามความคาดหวัง
90
KS7
ร้อยละความสำเร็จในการบรรจุจ้างบุคลากรที่มีคุณสมบัติครบถ้วนจากกระบวนการสรรหาด้วยวิธีต่าง ๆ
70
KS8
ร้อยละของบุคลากรใหม่ในช่วงสัญญาทดลองงานที่ผ่านการประเมิน
90
KS9
ร้อยละของบุคลากรที่มีผลการประเมินระดับดีเด่นขึ้นไป (มากกว่า 90 คะแนน) ของผลประเมินปีก่อนหน้ายังคงอยู่ในองค์กร
85
KS10
ร้อยละการคงอยู่ของคณาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
85
KS11
ร้อยละความสำเร็จของตัวชี้วัดตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
90
KS12
จำนวนข้อร้องเรียนในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว
0
KS13
ร้อยละของบุคลากรที่อยู่ในตำแหน่งที่มีแผนพัฒนารายบุคคล ดำเนินการตามแผน
Pending
KS14
ร้อยละของบุคลากรสายวิชาการที่มีความพร้อมตามกรอบระยะเวลาเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ/ระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น
25
KS15
ร้อยละของบุคลากรสายปฏิบัติการที่มีความพร้อมตามกรอบระยะเวลา เข้าสู่ระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น
25
KS16
คะแนนระดับความผูกพันของบุคลากรภายในส่วนงานเฉลี่ย
4.0
ส่วนทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
114 สุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ
เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
02 649 5000 I hrswu@g.swu.ac.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Terms Of Use
Privacy Statement
Copyright 2024 by Srinakharinwirot University
Back To Top